รีวิวซีรี่ย์ Squid Game เกมสุดเดือดความหวังของการมีชีวิต
รีวิวซีรี่ย์ Squid Game
เนื้อหาเน็ตฟลิกซ์จากเกาหลีเรียกว่าไปได้สวยและกล้าทะเยอทะยานมากขึ้นในทุกเรื่องทีเดียว เห็นได้ชัดขึ้นไปกับเรื่องนี้ด้วยว่า พวกเขาไม่ได้มองแค่ความนิยมในเอเชียอีกแล้วแต่จะสานต่อความสำเร็จในระดับโลก อย่างที่ซีรีส์ซอมบี้โชซอนอย่าง ‘Kingdom’ กรุยทางไว้สวยงาม ดูหนัง
เมื่อมองผ่าน Squid Game อาจดูเหมือนซีรีส์แนวเซอร์ไววัลธรรมดาทั่วไป ด้วยเรื่องที่ว่าด้วยการแข่งขัน เพื่อชิงเงินรางวัล 45,600 ล้านวอน ที่เดิมพันด้วยชีวิตในเกมเด็กเล่น 6 ด่าน แต่ Squid Game มีความแตกต่างด้วย บทที่ไร้ความปราณี ความง่ายของกติกาที่ทำให้เกมน่ากลัวกว่าเดิม งานอาร์ตไดเรกชั่น มุมกล้อง และการจัดแสงที่โดดเด่น เพลงประกอบที่ชวนกดดันและเพิ่มความเหนือจริง และความหมายแฝงที่อัดแน่นในทุกอณูทำให้ยิ่งดูยิ่งเห็นภาพของชีวิตจริงซ้อนทับกับเหตุการณ์ในเรื่อง เพราะทุกด่านและกฏกติกาต่างเป็นภาพสะท้อนของโลกภายนอก ดูหนังออนไลน์
‘ทุกคนเท่าเทียมกันในเกมนี้ผู้เล่นทุกคนแข่งขันกันอย่างยุติธรรมภายใต้เงื่อนไขเดียวกันพวกเขาทรมานจากความไม่เท่าเทียมและการแบ่งแยกจากโลกภายนอกเราให้โอกาสสุดท้ายที่จะต่อสู้อย่างเท่าเทียมและเอาชนะได้แก่พวกเขา’
ตัวเนื้อหาอาจเรียกได้ว่ามีกลิ่นอายที่แปลกใหม่สำหรับออริจินัลคอนเทนต์ของเกาหลีที่จะเอาตัวละครจำนวนมากมาเล่นเซอร์ไววัลเกม ซึ่งผู้ชมหนังน่าจะคุ้นชินกับหนังหรือซีรีส์ของญี่ปุ่นเสียมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งล่าสุดเน็ตฟลิกซ์ญี่ปุ่นเองก็เพิ่งมีซีรีส์อย่าง ‘Alice in Borderland อลิสในแดนมรณะ’ มาประกาศความเป็นราชาแนวเซอร์ไววัลเกมหมาด ๆ ด้วย ดูหนัง 4k
สังคมมันดี แต่ชีวิตมันห่วย ทำยังไงดีตัวเลือกในชีวิตมีน้อยเหลือเกิน? เรื่องราวเริ่มต้นจากความทุกข์ยากของพระเอกซองกีฮุน (รับบทโดย อีจองแจ) ที่ไม่มีอะไรเลย ใช้ชีวิตแบบเกาะแม่ ครอบครัวหย่าร้าง เป็นแรงงานระดับล่าง และยังเอาเงินไปเล่นการพนันการแข่งม้า แม้เขาจะได้เงินมาจากการพนันจำนวนหนึ่ง แต่ดูหนี้สินที่เยอะเกินบรรยายทำให้เจ้าหนี้มาตามทวงหนี้ไม่หยุด ดูหนังออนไลน์ 4k
มองโดยรวมโลกในเกมช่างดูเป็น ‘ประชาธิปไตย’ และเท่าเทียมกว่าข้างนอกมาก มีกฏง่าย ๆ เพียง 3 ข้อคือ ห้ามหยุดเล่นโดยพลการ ผู้เล่นที่ไม่ยอมเล่นเกมจะตกรอบ และ จะสามารถยุติเกมลงได้หากผู้เล่นเกินครึ่งยินยอม ไม่มีการบังคับให้สมัครเข้าเล่นเกม ทุกคนใส่ชุดเหมือนกัน ได้รับอาหารเท่ากัน เล่นเกมภายใต้กติกาเดียวกัน แต่หากมองให้กว้างขึ้นจะเห็นความว่ามันคือความเท่าเทียมจอมปลอม
เพราะขณะผู้เข้าแข่งขันกำลังเดินขึ้นบันไดไปทำหน้าที่ของตน มีคนอีกกลุ่มได้ทางลัดขึ้นลิฟท์ไปอยู่เหนือพวกเขา ทั้งเจ้าหน้าที่ชุดชมพูที่ปิดหน้า ทำหน้าที่อย่างแข็งขันโดยห้ามมีความเห็น ‘ฟรอนท์แมน’ คอยคุมกฏทุกอย่างและรายงานต่อ ‘วีไอพี’ ที่คอยดูอย่างสนุกสนานโดยใช้คำว่า ‘ให้โอกาส’ เป็นการบังหน้า ทั้งที่ความจริงการทำแบบนี้ก็ป่าเถื่อนไม่ต่างอะไรกับความของนักเลงทวงหนี้เมื่อต้นเรื่อง รีวิวซีรี่ย์
ทั้งนี้ที่ชัดเจนอีกอย่างคือ ‘Squid Game’ ไม่ใช่เซอร์ไววัลเกมที่เน้นการสังเกตหาจุดอ่อนของระบบ และใช้ความเฉลียวฉลาดเพื่อพิชิตสไตล์ญี่ปุ่นเลย หากแต่เอาหนังแนวเล่นเกมมาเป็นผิวหนังเพื่อห่อหุ้มโครงสร้างแกนกลางที่เป็นเรื่องของดราม่าระหว่างตัวละครที่ต้องมาอยู่ร่วมกันและมีภูมิหลังที่เป็นเหตุผลจูงใจให้พวกเขาชนะไม่ด้อยไปกว่ากันมากกว่า ถ้าเทียบสัดส่วนความฉลาดกับดราม่าของญี่ปุ่นจะประมาณ 70:30 ของเกาหลีก็น่าจะกลับกันเป็น 30:70 แทนนั่นเอง ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้เลยว่าจำเป็นที่จะต้องใช้เรื่องจังหวะพอดีหรือความบังเอิญมาบ้างเพื่อให้เรื่องเดินไปได้ เพราะตัวละครไม่เก่งขนาดจะเอาชนะระบบหรือกติกาของเรื่องได้
- ‘เกมเออีไอโอยู หยุด’ สื่อถึงการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด แต่ก็หลีกเลี่ยงได้หากไม่มีใครเห็น และสารนี้ถูกตอกย้ำยิ่งขึ้นเมื่อเราดูในภาษาเกาหลีที่เด็กน้อยจะพูดว่า ‘무궁화 꽃이 피었습니다’ หรือ ดอกมูกุงฮวาบานแล้วแทน ‘เออีไอโอยู หยุด’ ซึ่งแม้จะเป็นบทพูดในการละเล่นที่มีมายาวนาน แต่เมื่อดอกมูกุงฮวา ดอกไม้ประจำชาติของเกาหลีที่อยู่ในธงและสัญลักษณ์ของหน่วยงานรัฐเข้ามาปรากฎในบริบทนี้ก็ยิ่งทำให้การเสียดสีอำนาจรัฐชัดยิ่งกว่าเดิม
- เกมน้ำตาลแผ่น และเกมข้ามสะพานหิน อาจสื่อถึงสังคมที่ไม่มีพื้นที่ให้ข้อผิดพลาด และการทำพลาดแม้แต่นิดเดียวอาจจะต้องจ่ายด้วยชีวิต สะท้อนความเป็นประเทศที่มีความกดดันสูงจนมีสถิติฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับต้นในเอเชีย และทางรอดอาจอยู่ที่การใช้กลโกงหรือทำร้ายคนอื่น
แต่การที่ตัวละครเอาชนะระบบไม่ได้นี้ก็เหมาะสมกับแก่นเรื่องการรักษามนุษยธรรมในยามที่สถานการณ์บีบบังคับไม่เอื้ออำนวย ที่ผู้กำกับ ฮวังดงฮยอก ที่เคยมีผลงานดังอย่างหนัง ‘Silenced เสียงจากหัวใจ..ที่ไม่มีใครได้ยิน’ ซึ่งเคยเป็นหนังแห่งปีของเกาหลีที่ได้ กงยู มารับบทนำ ต้องการถ่ายทอดได้อย่างพอดิบพอดีเช่นกัน พอธีมมันจริงมากอยู่ในโลกความเป็นจริงมาก ๆ แม้เนื้อหาจะมีความแฟนตาซีอยู่บ้างแต่เราก็จะอินได้มากกว่า และหนึ่งในมุกที่ซีรีส์เอามาใช้ได้สมจริงอย่างที่หนังแนวนี้ลืมพูดถึงไปคือ การคอร์รัปชันภายในระบบเองที่ผู้คุมเกมก็ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่มีการฉกฉวยโอกาสเอาประโยชน์จากเกมจนกลายมาเป็นรูโหว่ให้ระบบได้เช่นกัน ตรงนี้ชอบมาก
หลายความเห็นอาจมองว่าเกมปลาหมึกในด่านสุดท้ายอาจไม่เร้าใจสมเป็นจุดไคล์แมกซ์ของเรื่อง แต่ความหมายที่แฝงไว้นั้นเข้มข้นสมเป็นด่านสุดท้าย โดยการให้ซองกีฮุนจากชนชั้นแรงงานเป็นฝ่ายบุก ที่ต้องกระโดดขาเดียวไปจนกว่าเขาจะข้าม ‘คอปลาหมึก’ เขาจึงจะเดินสองขาได้เหมือนโจซังอูจากชนชั้นกลางที่คอยตั้งรับและรักษาเขตแดน และเขาจะชนะหากต่อสู้จนได้ไปยืนอยู่ที่ยอดของสามเหลี่ยมบนตัวปลาหมึก เป็นการสรุปการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานที่พยายามข้ามอุปสรรคและความไม่เท่าเทียมของชนชั้นไปสู่จุดจูงสุด ผ่านการละเล่นได้อย่างแยบยล และภาพของความยุติธรรมที่เกมสร้างไว้ก็พังทลายลงอย่างสมบูรณ์ในฉากนั้นเอง
Squid Game เป็นซีรีส์ที่ใช้จิตวิทยาและการเสียดสีสังคมอีกแล้ว เกาหลีทำซีรีส์แนวนี้ได้ดีมาตลอด ยิ่งซีรีส์เรื่องนี้ได้ทุนจาก Netflix ด้วยแล้วยิ่งต้องขยี้ปมนี้กันแบบถึงพริกถึงขิงกันไปเลย เกาหลีถือเป็นประเทศที่วงการซีรีส์และภาพยนตร์พัฒนาการก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา มีหลากหลายประเทศพยายามที่จะก้าวขึ้นมาใกล้ในเรื่องมาตรฐานและคุณภาพ แต่ก็เหมือนซีรีส์เกาหลีจะยกลำดับหนีแบบไม่หยุดยั้ง เรียกว่าเป็นประเทศที่ผลิตคอนเทนต์และใช้ไอเดียได้ดี มาเป็นอันดับ 1 ของเอเชียก็ว่าได้
ต้องบอกว่าซีรีส์ปังจริง (ซีรีส์เล่นกระแสและขยี้กระแสได้ดี ทีมโปรโมททำงานได้ดีมาก ๆ ) เพราะหยิบเอาเกมใกล้ตัวมาก ๆ มาเปลี่ยนภาพลักษณ์และดูแบบเป็นเกมการละเล่นพื้นบ้านธรรมดาของเกาหลี มาทำให้ไม่ธรรมดาได้ ถือว่าทีมเขียนบทหยิบยกเอาสิ่งใกล้ตัวมาทำได้ดีมาก แถมยังนำการละเล่นเกาหลีให้ดังไกลไปทั่วโลกอีกด้วย
ซีรีส์เรื่องนี้ก็เสียดสีสังคมกันแบบรัว ๆ เพราะก็ไปเล่นประเด็นกลุ่มคนรวยที่เดิมพันการชนะของคนที่มาเล่นเกม พนันกันอย่างสนุกสนานแถมมานั่งหัวเราะกับความเป็นความตายของคนอื่นอย่างสบายใจ โดยคำพูดของลุง 001 (ตัวแกงของเรื่อง) ใน EP9 ก็คือทำให้ได้คิดว่าคนพวกนี้สงสัยต้องว่างจัดหรือเพี้ยนกันไปล่ะ กับคำพูดของลุงที่แบบตรรกะอะไรกันค่ะเนี่ย โดยประโยคประมาณว่า “นายรู้ไหม? คนที่ไม่มีเงินเลยกับคนที่มีเงินมหาศาลมีจุดไหนที่เหมือนกัน คือ การใช้ชีวิต มันไม่มีอะไรสนุกเลยไง เมื่อมีเงินมากมายไม่ว่าจะซื้อ กิน ดื่ม ขนาดไหนสุดท้ายแล้วมันก็ไม่มีค่าไปซะหมด พอมาถึงจุดหนึ่ง ลูกค้าของฉันก็เริ่มมาบอกกับฉันแบบนั้นทีละคนสองคน ว่าพวกเขาไม่มีสีสันในชีวิตอีกแล้ว เพราะงั้นเราทุกคนเลยมารวมตัวกัน แล้วก็ช่วยกันคิดว่าจะทำอะไรดี มันถึงจะสนุก”
การนำการละเล่นวัยเด็กที่แสนงดงามในความทรงจำมาทำให้เป็นเรื่องระทึกขวัญ คือ จุดเด่นข้อหลักที่ซีรีส์เรื่องนี้สามารถสร้างความนิยมได้อย่างดี และอีก 1 ตัวเอกของความน่ากลัว ก็คงหนีไม่พ้นตุ๊กตาจากเกม AEIOU เรียกว่ามาแบ๊ว ๆ แต่สยองและโหดแบบสุด ๆ เปลี่ยนภาพลักษณ์ความน่ารักเป็นความสยองขวัญภายในจิตใจคนดูเพียงเสี้ยววินาที และเราเชื่อว่า Squid Game จะเป็นมากกว่าซีรีส์ เพราะจากเห็นปรากฏการณ์ของซีรีส์เรื่องนี้ก็คือสามารถเอาคอนเทนต์ ไอเดีย และองค์ประกอบของเรื่องไปต่อยอดได้อีกมาก เรียกว่าเป็นซีรีส์ที่จะสามารถสร้างรายได้กันอีกแบบยาว ๆ ไปเลย
และถ้ามองข้ามเรื่องความบังเอิญที่ถูกเอามาใช้เชื่อมต่อเรื่องบ้างหลายครั้งไปได้ มันก็ยังมีมุกแบบตามสูตรที่เราเดาได้ล่วงหน้าเลยว่าไอ้ตัวละครทรงนี้มันก็ต้องคือคนนี้คนนั้นแน่ ๆ อะไรแบบนั้นอีก ก็ไม่ได้ว่าเลวร้าย แต่ลดทอนความดีเด่นของเรื่องลงไปไม่น้อย ความแปลก ๆ ที่ไม่เมกเซนส์อีกประการที่รู้สึกได้คือจำนวนคนที่แพ้เกมแต่ละด่านดูตัวเลขที่แสดงน้อยกว่าภาพที่ปรากฏไปเยอะพอสมควร แบบดูในฉากน่าจะมีแพ้เป็นร้อย แต่พอประกาศยอดตัวเลขดันแค่หลายสิบคนเป็นต้น
สำหรับมุมมองนักเขียน เราคิดว่ามีและหลายจุดด้วย อาจจะเพราะว่าการที่ซีรีส์ได้หยิบยกเอาการละเล่นของเด็กมาใช้ในซีรีส์ บางครั้งหรือบางตอนก็ดูแบบเหมือนมันโหดไม่สุด แต่อาจจะเพราะตรีมเรื่องไม่ได้เน้นไปที่การเอาชีวิตรอดแบบดาร์กสุด ๆ ขนาดนั้น พาร์ทหลัง ๆ พอคนเริ่มเหลือน้อย เริ่มดึงดราม่าเยอะไปมาก เอาจริง ๆ ไม่ควรจะมีดราม่าในตัวละครที่มาเล่นเกมเอาชีวิตรอดจากการต้องตายจริงเสียด้วยซ้ำ เพราะความสัมพันธ์ของคนที่มาร่วมเล่นเกมมันไม่น่าจะรักใคร่ปลองดองและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเบอร์นั้นได้ อาจจะมีบ้างที่รู้สึกประทับใจกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แต่มันก็ไม่ใช่ความผูกพันที่แบบสามารถตายแทนกันได้ เพราะทุกคนในเกมก็ทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองเป็นผู้รอดเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้น การที่มีการหักหลังจากความเชื่อใจจึงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในเกมเป็นปกติ แต่ซีรีส์กลับเล่นประเด็นความสัมพันธ์ของคนในเกมให้คนที่คิดว่าเป็นทีมเดียวกัน เป็นคู่หูกันมาฆ่ากัน จึงเป็นซีนที่ยัดเยียดดราม่าที่มากเกินไป
และเหมือนระดับความตื่นเต้นของเกมเริ่มดีแต่แผ่วปลาย พอคนเริ่มเหลือน้อยเริ่มเปลี่ยนแกนการดำเนินเรื่องจากการเอาชีวิตรอดมาเป็นดราม่า สำหรับเราค่อนข้างรู้สึกขัดใจ สำหรับซีรีส์เรื่องนี้เรียกว่าตอนจบขัดใจมาก แบบ (อ่า!! แล้วแต่เลย) พระเอกเป็นคนเทา ๆ มาตลอดทั้งเรื่อง เป็นศูนย์รวมของความไม่เอาไหนเลยก็ว่าได้ แต่ตอนจบกลับจะเป็นคนดีช่วยเพื่อนซะงั้น ทั้งที่เพื่อนก็ไม่เคยมองตัวเองอยู่ในสายตาเลยแม้แต่น้อย ดีนะที่เพื่อนยังมีจิตสำนึกเหือกสุดท้ายแทงตัวเองตายไปก่อน
เจ้าหน้าที่ (ชุดสีชมพูและหน้ากากปกปิดตัวตน) เป็นคนที่คอยดูแลและจับตาดูผู้เล่น โดยมีหน้าที่แตกต่างกันตามสัญลักษณ์บนหน้ากาก พวกแรกคือ วงกลม หมายถึงแรงงานทั่วไป คอยนำทางผู้เล่นไปสู่เกม แจกจ่ายอาหารเครื่องดื่ม พวกที่สองคือ สามเหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นทหาร มีอาวุธในมือเพื่อใช้ปลิดชีพผู้เล่นที่ตกรอบ และพวกสุดท้ายคือ สี่เหลี่ยม เปรียบเสมือนผู้จัดการ คอยควบคุมทุกอย่างให้มีความสงบเรียบร้อย ฟรอนต์แมน (Front Man)(สวมหน้ากากสีดำ) เป็นหัวหน้าและคนออกคำสั่งพวกชุดชมพู ทำหน้าที่ในการควบคุมเกมทั้งหมด มีอำนาจในการดูแล ควบคุม และปรับเปลี่ยนกติกาได้