รีวิวซีรี่ย์ The Woman In The House Across
The Woman in the House Across the Street from the Girl in the Window ลางหลอน ซ่อนมรณะจ๊ะ ซีรีส์ Netflix 8 ตอนสั้นๆ แนวตลกสืบสวนล้อเลียนหนัง/นิยาย แนวนี้ที่มีหลายเรื่องมากมาย แค่ชื่อก็ปั่นมากแล้ว แถมยังทำได้ดีกว่าต้นฉบับที่ล้อเลียนไว้ซะอีก โดยเป็นเรื่องราวของหญิงสาวที่เห็นฉากฆาตกรรมเพื่อนบ้าน แต่แล้วก็ชักไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เห็นคือหลอนไปเองรึเปล่า? ดูหนัง
‘The Woman in the House Across the Street from the Girl in the Window’ มินิซีรีส์ชื่อยาวเหยียดของ Netflix ความยาว 8 ตอนจบ (ตอนละประมาณ 22-29 นาที) มีหน้าหนังและชื่อเรื่องที่แสดงให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งว่าเราจะได้ดูเรื่องราวระทึกขวัญเกี่ยวกับฆาตกรรมปริศนาของผู้หญิงคนหนึ่งที่อยู่บ้านตรงกันข้ามกับผู้หญิงอีกคนหนึ่งอย่างแน่นอน ดูหนังออนไลน์
หนังเล่าเรื่องของแอนนา ศิลปินนักวาดภาพที่รู้สึกเจ็บปวดจากการสูญเสียลูกสาวให้กับไมค์ ฆาตกรต่อเนื่องที่สามีเธอไปสัมภาษณ์ และพาลูกสาวไปทำงานด้วย และลืมลูกสาวไว้ในห้องกับฆาตกรแค่สองคน ที่ถูกล๊อคไว้ ตั้งแต่นั้นมา แอนนาก็กลับไปพึ่งแอลกอฮอล์เพื่อหลีกหนีจากความเจ็บปวดและถูกสามีทิ้งไปแต่งงายใหม่ ตั้งแต่นั้น งานอดิเรกของแอนนา คือการแอบมองเพื่อนบ้านใหม่ นีล ผู้ชายหล่อเพิ่งสูญเสียภรรยาจากการจมน้ำตาย และเอ็มม่า ลูกสาววัย 9 ขวบ จนกระทั่งแอนนามองเห็นผู้หญิงถูกฆาตกรรมในหน้าต่างบ้านตรงข้ามแต่ไม่มีใครเชื่อเธอเลย ทุกคนบอกให้แอนนา หยุดเมาได้แล้ว ดูหนัง 4k
คริสเทน เบลล์ (Kristen Bell) รับบทแอนนา จิตรกรหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงระทมทุกข์จากการสูญเสียลูกสาววัย 8 ขวบจากคดีฆาตกรรมและนำไปสู่การแยกทางกับสามี ได้รู้จักเพื่อนบ้านใหม่ที่ย้ายมาอยู่บ้านฝั่งตรงข้าม นีล (ทอม ไรลีย์ – Tom Riley) พ่อม่ายหนุ่มหน้าตาดี มีลูกสาววัย 9 ขวบชื่อเอ็มม่า จากนั้นไม่นานเธอก็พบว่านีลกำลังคบหากับลิซ่า (เชลลีย์ เฮนนิก Shelley Hennig) แฟนใหม่ที่แสดงท่าทีไม่ค่อยปลื้มแอนนานัก แอนนาแอบรู้ว่าลิซ่ากำลังนอกใจนีลคบกับผู้ชายอีกคน และหลังจากนั้นไม่นาน ในค่ำคืนหนึ่งแอนนามองผ่านหน้าต่างและเห็นลิซ่ากำลังถูกฆ่าตาย เธอพยายามข้ามถนนไปช่วย แต่แอนนามีโรคประจำตัว ‘Ombrophobia’ (โรคกลัวฝน) ทำให้เธอนอนหมดสติอยู่ริมถนนเสียก่อน ดูหนังออนไลน์ 4k
แอนนา (คริสเตน เบลล์) เธอนั่งจมอยู่กับตัวเองและแก้วไวน์จากปัญหาครอบครัวแยกทางกับสามีหลังเสียลูกสาวไป ในแต่ละวันเธอใช้ชีวิตมองออกไปนอกหน้าต่างและดูความเป็นไปรอบตัวเป็นกิจวัตรประจำวัน แต่เมื่อเพื่อนบ้านสุดหล่อกับลูกสาวที่แสนน่ารักย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านฝั่งตรงข้าม แอนนาก็เริ่มมีความหวังใหม่ในชีวิตขึ้นมาบ้าง จนกระทั่งได้พบเห็นการฆาตกรรมที่น่าสยดสยอง… หรือเปล่านะ? รีวิวซีรี่ย์
เหตุการณ์ที่กล่าวไปอยู่ใน 2 เอพิโซดแรกเท่านั้น นั่นหมายถึงในอีก 6 เอพิโซดที่เหลือจะเป็นเรื่องราวของการที่แอนนาตามคลี่คลายปริศนาฆาตกรรมด้วยตัวเธอเองและนำไปสู่การเฉลยในตอนจบ แต่ที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นก็คือมีการปูพื้นฐานตัวละครหลักอย่างแอนนาไว้ว่าเธอมีอาการจิตหลอนจากการสูญเสียลูกสาว บวกกับพฤติกรรมที่ชอบดื่มไวน์กับยา นั่นหมายถึงในคืนนั้นแอนนาอาจจะเมาไวน์และเพ้อฝันถึงภาพที่เห็นลิซ่าถูกฆาตกรรมไปเองก็เป็นได้
รีวิวซีรี่ย์ The Woman In The House Across
สำหรับคนที่ดู The Woman In The Window มาก่อนแล้วก็อาจจะดูเรื่องนี้สนุกขึ้นอีกนิดนึงมากกว่าคนไม่เคยดู เพราะโครงเรื่องหลักแทบจะยกหนังเรื่องนี้มาเลย ว่าด้วยนางเอกเป็นคนติดแอลกอฮอล์อย่างหนัก ไม่ไปไหนจากบ้านเพราะเป็นโรคทางจิตเวชกลัวผู้คน แต่ในซีรีส์จะเป็นโรคกลัวฝนตก ซึ่งก็มีสาเหตุที่มาโยงถึงการตายของลูกสาวที่เป็นความลับสำคัญอย่างหนึ่งของเรื่องเหมือนกันเป๊ะ แต่ในรายละเอียดหลายๆ อย่างถูกใส่ความโอเวอร์เข้าไป เพราะนี่เป็นงานล้อเลียนต้นฉบับที่อาจจะไม่ตลกแบบชัดเจน
แต่ถ้าใครทันมุกแฝงต่างๆ ในเรื่องก็สนุกและตลกขำไปกับสิ่งที่เห็นได้ทันที อย่าง จุกไม้คอร์กไวน์ที่นางเอกสะสมไว้เต็มโถแก้ว แสดงให้เห็นเลยว่าติดไวน์หนักขนาดไหน มุกมองเห็นเพื่อนบ้านสุดหล่อแล้วจิ้นไปไกลเตลิดเปิดเปิง นิยายที่นางเอกอ่านระหว่างนั่งจ้องเพื่อนบ้านก็ล้อนิยาย The Woman in the อีกที อะไรพวกนี้คือมุกตลกมากมายในเรื่องที่อาจจะต้องคนเข้าใจทันนิดนึงถึงจะขำได้ แต่ยืนยันเลยว่านี่เป็นซีรีส์ที่ถ้าเข้าใจมุกแฝงเหล่านี้จะขำก๊ากได้จริงๆ
การที่มินิซีรีส์ชุดนี้มีตัวละครดำเนินเรื่องอยู่ไม่กี่ตัว และมีแอนนาเป็นคนเดินเส้นเรื่องทั้งหมด ทำให้พล็อตเรื่องไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย โดยผู้กำกับ ไมเคิล เลห์แมนน์ (Michael Lehmann) ที่เคยมีงานโดดเด่นในปลายยุค 80s – 90s อย่าง ‘Heathers’ (1989) และ ‘Hudson Hawk’ (1991) ใช้วิธีเล่าเรื่องให้คนดูตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับตัวละครแอนนา ได้เห็นภาพเดียวกับเธอ คนดูเองก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นเรื่องจริงหรือภาพฝัน และไม่แน่ใจแม้กระทั่ง “หรือเราเองที่เป็นฆาตกร”
แต่ในส่วนของโครงเรื่องสืบสวนมีความต่างออกไปเยอะอยู่ อาจจะด้วยความที่เป็นซีรีส์ทำให้มีการเพิ่มรายละเอียดหลายอย่างลงไปค่อนข้างมาก อย่างปมการเห็นภาพฆาตกรรมของนางเอกที่ต้องถูกตีความว่าภาพหลอนหรือเรื่องจริง ในหนังคนดูค่อนข้างแน่ใจว่าจริงเพราะโครงเรื่องแบบนี้มันบิดหลอกกันไม่ได้ แต่พอมาเป็นซีรีส์ผู้สร้างเหมือนสนุกกับการปั่นหัวคนดูไปยาวๆ มากว่า ตกลงนี่มีฆาตกรรมจริงไหม แล้วใครฆ่า หรือนางเอกฆ่าเองแล้วลืมเองกันแน่ จากอาการทางจิตที่ซีรีส์ใส่รายละเอียดมามากกว่าว่า นางเอกเห็นภาพเธอแทงๆๆๆ เหยื่อที่เธอเห็นเองแว่บขึ้นมาเป็นระยะๆ
คริสเทน เบลล์ ทำหน้าที่ได้ดีในการแบกหนังไว้ทั้งเรื่อง เราเห็นและตัดสินทุกอย่างผ่านสายตาของแอนนา การแสดงของเบลล์สามารถปั่นหัวให้คนดูทั้งแอบเอาใจช่วยและแอบสงสัยเธอในเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับนักแสดงสมทบคนอื่น ๆ ทุกคนที่เป็นได้ทั้งผู้บริสุทธิ์และผู้ต้องสงสัยตามสูตรหนังแนวนี้ แถมในบ้านเธอเองก็เหมือนมีความลับซ่อนอยู่อีกในห้องใต้หลังคา รวมถึงตัวละครล่อหลอกมีพิรุธหลายคนมากกว่าแค่หนุ่มหล่อบ้านตรงข้ามที่ดูน่าสงสัยสุดๆ
เริ่มตั้งแต่สามีของเธอที่มีโปรไฟล์เป็นหมอจิตวิเคราะห์ฆาตกรทำงานกับ FBI แล้วมีส่วนทำให้ลูกสาวตายไปจนทำให้เกิดปัญหาทางจิตกับตัวนางเอก หนุ่มหล่อล่ำที่รู้จักกับเหยื่อที่เธอเห็น ช่างทำงานบ้านของนางเอกที่ดูมีพิรุธ เพื่อนสนิทที่ขยันมาหาเธอแบบไม่บอกกล่าว ซีรีส์ทำบทตัวละครพวกนี้ให้ชวนน่าสงสัยลับลวงพรางได้ดีตลอดเรื่อง คือผู้ชมต้องพยายามเดากันตลอดเรื่องอยู่แล้วล่ะว่าใครคือฆาตกร แต่เชื่อเลยว่าก่อนไปเฉลยในตอน 8 ไม่มีทางเดาได้ แล้วก็อาจจะตกหลุมพรางที่ผู้สร้างดักไว้หลายรอบเข้าด้วยเหมือนกัน
การที่มินิซีรีส์มีความยาวแค่ตอนละ 20 นาทีกว่า ๆ ทำให้การดำเนินเรื่องค่อนข้างกระชับ ไม่ค่อยสะเปะสะปะ เส้นเรื่องพุ่งตรงไปข้างหน้าว่าใครเป็นคนฆ่าลิซ่า หรือลิซ่าเสียชีวิตจริงหรือเปล่า การแฟลชแบ็กความหลังหรือภาพในความฝันของตัวละครเป็นระยะอาจจะสร้างความรำคาญอยู่บ้าง แต่นั่นก็เป็นการตั้งใจนำเสนอปมในอดีตของตัวละครที่ส่งผลต่อจิตใจหรือพฤติกรรม และเป็นการปั่นหัวคนดูไปในขณะเดียวกัน
แน่นอนว่าเอพิโซดสุดท้ายสำคัญที่สุดและเป็นการเฉลยปมปริศนาทุกอย่าง ซึ่งคนดูที่ติดตามมาตลอด 7 ตอน ก็ย่อมคาดหวังจะได้พบกับตอนจบที่หักมุมและการเฉลยปมฆาตกรรมที่ร้องว้าว… แล้วคนดูก็ได้ว้าวสมใจกับจุดหักมุมที่เรียกได้ว่าเกินความคาดหมาย ซึ่งมีทั้งความ “อึ้ง” ปนกับความ “อิหยังวะ” และการหักมุมชนิดที่เรียกว่า “ล้มคว่ำคะมำหงาย” นี่แหละ เป็นสิ่งที่ทำลายเรื่องราวและรายละเอียดเล็กน้อยที่สอดแทรกเข้ามาตลอดทั้ง 7 ตอน ยิ่งไปกว่านั้นยังขาดความน่าเชื่อถือและสมเหตุสมผลอย่างสิ้นเชิง
นอกจากแนวตลกกับสืบสวนที่ทำได้ดีแล้ว อาจจะต้องบอกว่าสิ่งที่ดีแบบไม่คาดคิดของเรื่องนี้คือ ฉากโรแมนติกหลายครั้งของเรื่องทำออกมาได้ดีเกินคาด ระหว่างที่ตัวเรื่องเดินหน้าสืบสวนแบบติดตลกไปเรื่อยๆ ก็มีพล็อตรองคือ ความพยายามฟื้นฟูจิตใจของนางเอกที่เสียไปจากการแยกทางกับสามี ซึ่งนอกจากปัญหาการตายของลูกสาวที่เธอก้าวข้ามไม่ได้สักทีก็มีเรื่องหัวใจนี่แหละที่ลึกๆ เธอโหยหาอยู่ตลอด จนการมาของหนุ่มหล่อบ้านตรงข้าม ซึ่งในตอนแรกเรื่องราวการเปิดความสัมพันธ์ใหม่ทำออกมาเบาๆ แต่ชวนจิ้นหลายครั้งอย่าง ฉากแตะมือชนกันโดยบังเอิญ
อีกนัยหนึ่ง ‘The Woman in the House Across the Street from the Girl in the Window’ ก็ไม่ได้นำเสนอออกมาในแนวทริลเลอร์หนัก ๆ ตั้งแต่ต้น แต่แอบแทรกความเป็นตลกร้าย (Dark Comedy) หรือตลกร้ายอยู่กลาย ๆ ซึ่งหากมองในมุมนี้ หนังอาจจะตั้งใจล้อเลียนและประชดประชันหนังฆาตกรรมแนวนี้ก็เป็นได้ เผลอ ๆ อาจทำให้คนจดจำง่ายกว่าหนังที่จบตามสูตรเดิม ๆ การพูดคุยอ่อยแบบมีมารยาทของทั้งคู่ และยิ่งอีกฝ่ายก็เสียภรรยาไปด้วยยิ่งทำให้ทั้งคู่เหมือนเคมีต้องกันในทันที ซึ่งตัว คริสเตน เบลล์ เองแม้ไม่ได้สวยมาก แต่ก็มีเสน่ห์ยั่วยวนชัดเจน และเธอก็เล่นบทนี้แบบมีมารยาอ่อยเนียนๆ น่ารักกำลังดีเลย นอกจากนี้เธอก็ยังรู้สึกโหยหาอดีตสามีที่แยกทางกันอยู่ลึกๆ
ซึ่งบทการพบกันของทั้งคู่แม้ไม่มีอะไรมาก แต่ก็แฝงความโรแมนติกทำให้ผู้ชมเข้าใจได้ทันทีว่าเธอตัดเขาไม่ขาด แถมยังมีหนุ่มหล่อล่ำเพิ่มเข้ามากลางเรื่องอีกคน พร้อมฉาก SEX ดุเดือดสุดๆ แบบเย่อกันหลายท่าจะๆ (จริงๆ ฉากนี้คือตั้งใจล้อเลียนตลกๆ) ก่อนที่จะต่อด้วยฉากโรแมนติกยามเช้าสดใสอีกรอบ ซึ่งแต่ละครั้งที่เรื่องวกมาฉากโรแมนติกก็เปลี่ยนอารมณ์ของเรื่องได้ดีในทันที แอบซึ้งๆ อินตามได้เลย จนแอบคิดว่าจริงๆ แล้วเรื่องนี้สามารถเดินเรื่องด้วยแนวโรแมนติกสืบสวนเป็นหลักก็ยังคงความสนุกได้เช่นกัน เพราะคนดูเองก็คงลุ้นเหมือนกันว่าสุดท้ายแล้วนางเอกจะลงเอยกับใคร แล้วใครคนนั้นจะเป็นฆาตกรด้วยหรือเปล่าอีกต่างหาก (ไม่นับว่าเธอเองก็อาจจะเป็นฆาตกรไปด้วยนะ)